วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คีย์ลัดของ Windows และ office เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

คีย์ลัดของ Windows และ Office

แป้นพิมพ์ลัด (ShortCut) ใน Windows XP
        
        

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Windows ง่ายๆ ด้วยการจดจำ และเรียนรู้การใช้งาน Keyboard ผสมผสานกับการใช้งานเม้าส์ รับรองคุณจะทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  • BACKSPACE (ดูโฟลเดอร์ย้อนขึ้นหนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer)
  • ESC (ยกเลิกงานปัจจุบัน)
  • CTRL+C (คัดลอก)
  • CTRL+X (ตัด)
  • CTRL+V (วาง)
  • CTRL+Z (ยกเลิก)
  • DELETE (ลบ)
  • SHIFT+DELETE (ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรโดยไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin)
  • กดปุ่ม CTRL ขณะที่ลากรายการ (คัดลอกรายการที่เลือก)
  • กดปุ่ม CTRL+SHIFT ขณะที่ลากรายการ (สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก)
  • ปุ่ม F2 (เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก)
  • CTRL+ ลูกศรขวา (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำถัดไป)
  • CTRL+ ลูกศรซ้าย (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า)
  • CTRL+ ลูกศรลง (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าถัดไป)
  • CTRL+ ลูกศรขึ้น (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าก่อนหน้าไป)
  • CTRL+SHIFT พร้อมกับปุ่มลูกศรใดๆ (ไฮไลต์บล็อกข้อความ)
  • CTRL+A (เลือกทั้งหมด)
  • ปุ่ม F3 (ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์)
  • ALT+ENTER (ดูคุณสมบัติต่างๆ ของรายการที่เลือก)
  • ALT+F4 (ปิดรายการที่ใช้งานอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่ใช้งาน)
  • ALT+ENTER (แสดงคุณสมบัติของออบเจกต์ที่เลือก)
  • ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูทางลัดสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
  • CTRL+F4 (ปิดเอกสารที่ใช้งานอยู่)
  • ALT+TAB (สลับระหว่างรายการต่างๆ ที่เปิดอยู่)
  • ALT+ESC (สลับไปยังรายการต่างๆ ตามลำดับที่เปิด)
  • ปุ่ม F6 (สลับไปตามรายการอิลิเมนต์บนหน้าจอในหน้าต่างหรือบนเดสก์ทอป)
  • ปุ่ม F4 (แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ Windows Explorer)
  • SHIFT+F10 (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก)
  • ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูระบบสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
  • CTRL+ESC (แสดงเมนู Start)
  • ALT+อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู (แสดงเมนูนั้นๆ)
  • อักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อคำสั่งบนเมนูที่เปิด (ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ)
  • ปุ่ม F10 (เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่กำลังใช้งาน)
  • ลูกศรขวา (เปิดเมนูถัดไปทางขวา หรือเปิดเมนูย่อย)
  • ลูกศรซ้าย (เปิดเมนูถัดไปทางซ้าย หรือปิดเมนูย่อย)
  • ปุ่ม F5 (อัปเดทหน้าต่าง)
  • กดปุ่ม SHIFT ขณะที่ใส่แผ่นซีดีรอมลงในไดรฟ์ซีดีรอม (ยกเลิกการเล่นซีดีรอมอัตโนมัติ)
  • CTRL+SHIFT+ESC (เปิด Task Manager) 

คีย์ลัดของ Office
CTRL + A = Select All เลือกทั้งหมด
CTRL + B = Bold ตัวหนา
CTRL + C = Copy คัดลอก
CTRL + D = Font format กำหนดรูปแบบอักษร
CTRL + E = Center ตรงกลาง
CTRL + F = Find ค้นหา
CTRL + G = Goto ไปที่
CTRL + H = Replace แทนที่
CTRL + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + J = Justify จัดชิดขอบ
CTRL + K = Insert Hyper Link แทรกการเชื่อมโยงหลายมิติ
CTRL + L = Left จัดชิดซ้าย
CTRL + M = Indent เพิ่มระยะเยื้อง
CTRL + N = New สร้างแฟ้มใหม่
CTRL + O = Open เปิดแฟ้มใหม่
CTRL + P = Print พิมพ์
CTRL + Q = Reset Paragraph ตั้งค่าย่อหน้าใหม่
CTRL + R = Right จัดชิดขวา
CTRL + S = Save จัดเก็บ (บันทึก)
CTRL + T = Tab (ตั้งระยะแท็บ)
CTRL + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + V = Paste วาง
CTRL + W = Close ปิดแฟ้ม
CTRL + X = Cut ตัด
CTRL + Y = Redo or Repeat ทำซ้ำ
CTRL + Z = Undo ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด
 CTRL + SHIFT + A = All Caps ทำเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด (สำหรับภาษาอังกฤษ)
CTRL + SHIFT + B = Bold ตัวหนา
CTRL + SHIFT + C = Copy Format คัดลอกรูปแบบ
CTRL + SHIFT + D = Double Underline ขีดเส้นใต้ 2 เส้น
CTRL + SHIFT + E = Revision Mark Toggle สลับการทำเครื่องหมายรุ่นเอกสาร
CTRL + SHIFT + F = Fonts Name Select เลือกชื่อแบบอักษร
CTRL + SHIFT + G = Word count นับจำนวนคำ
CTRL + SHIFT + H = Hidden ซ่อน
CTRL + SHIFT + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + SHIFT + J = Thai Justify จัดคำแบบไทย
CTRL + SHIFT + K = Small Caps ทำอักษรตัวพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่แบบเล็กๆ
CTRL + SHIFT + L = Apply List Bullet ใช้เครื่องหมายหน้าข้อ
CTRL + SHIFT + M = Unindent ลดระยะเยื้อง
CTRL + SHIFT + N = Normal Style ใช้ลักษณะแบบปกติ
CTRL + SHIFT + P = Font Size Select เลือกขนาดแบบอักษร
CTRL + SHIFT + Q = Symbol Font ใช้แบบอักษรสัญลักษณ์
CTRL + SHIFT + R = Recount Words นับคำใหม่
CTRL + SHIFT + S = Style กำหนดลักษณะ
CTRL + SHIFT + T = Unhang ไม่แขวนภาพ
CTRL + SHIFT + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + SHIFT + V = Paste Format วางรูปแบบ
CTRL + SHIFT + W = Word Underline ขีดเส้นใต้เฉพาะคำ
CTRL + SHIFT + Z = Reset Character ตั้งค่าแบบอักษรใหม่
 CTRL + ALT + C = Copyright sign ((c)) สัญลักษณ์ลิขสิทธิ์
CTRL + ALT + E = Euro Sign (?) สัญลักษณ์เงินยูโร
CTRL + ALT + F = Insert Footnote Now แทรกหมายเหตุ
CTRL + ALT + I = Print Preview ตัวอย่างก่อนพิมพ์
CTRL + ALT + K = Auto Format จัดรูปแบบอัตโนมัติ
CTRL + ALT + L = Insert List Number แทรกเลขลำดับหน้าข้อ
CTRL + ALT + M = Insert Annotation แทรกคำอธิบาย
CTRL + ALT + N = Normal View มุมมองปกติ
CTRL + ALT + O = Outline View มุมมองแบบร่าง
CTRL + ALT + P = Page View มุมมองเหมือนพิมพ์
CTRL + ALT + R = Registered sign สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
CTRL + ALT + S = Document Split แยกเอกสาร
CTRL + ALT + T = Trade Mark sign (?) สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า CTRL + ALT + U = Update Auto Format for Table ปรับปรุงการจัดรูปแบบอัตโนมัติในตาราง
CTRL + ALT + V = Insert Auto Text แทรกข้อความอัตโนมัติ
CTRL + ALT + Y = Repeat find ค้นหาเพิ่มเติม
CTRL + ALT + Z = Go back ย้อนกลับ
 CTRL + < = Decrease Font size by step เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + > = Increase Font size by step ลดขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + [ = Decrease Font size by point เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + ] = Increase Font size by point ลดขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + - = Optional Hyphen แทรกยัติภังค์
CTRL + _ = Non Breaking Hyphen แทรกยัติภังค์แบบไม่แบ่งคำ
CTRL + = = Sub Script ตัวห้อย
CTRL + + = Super Script ตัวยก
CTRL + \ = Toggle Master sub document สลับไปมาระหว่างเอกสารหลักและเอกสารย่อย
CTRL + , = Prefix Keys กำหนดแป้นพิมพ์กดปุ่ม F12 จะเป็นการ Save As..(บันทึกเป็น)
กดปุ่ม F7 จะเป็นการสะกดและไวยากรณ์
กดปุ่ม F5 จะเป็นการแทนที่ (การค้นหาและแทนที่)
กดปุ่ม F4 จะเป็นการใช้คำสั่งล้าสุดในการทำงาน เช่น ถ้าคำสั่งสุดท้ายเรากำลังลบงาน
ถ้ากดปุ่ม F4 ก็จะลบงาน  แต่ถ้าเรากดปุ่ม Enter 
 ถ้ากดปุ่ม F4 ก็จะทำการเพิ่มบรรทัดขึ้นมา

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[Tips & Tricks] เพิ่มประสิทธิภาพ Wireless Network ภายในบ้านคุณ


จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีส่วนทำให้การติดตั้งระบบ Wireless Network ตามบ้านได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ถึงแม้อุปกรณ์ Wireless Network ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณให้ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก แต่ในบางครั้งหลายๆท่านก็ยังคงประสบปัญหาสัญญาณอ่อน, การรับส่งสัญญาณช้ากว่าที่ควรจะเป็นอยู่ ดังนั้น Tips & Tricks ในฉบับนี้จึงขอแนะนำวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Wireless Network ของคุณอย่างง่ายๆให้คุณลองนำไปประยุกต์ใช้กันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกัน
1. วางตำแหน่ง wireless router ให้อยู่จุดกึ่งกลางของบ้าน
เนื่องจากเสาส่งสัญญาณของ wireless router โดยทั่วไปจะเป็นเสาแบบส่งสัญญาณรอบทิศทาง เป็นรัศมีวงกลมกระจายออกไป ดังนั้นเพื่อให้การรับส่งสัญญาณไร้สายภายในบ้านมีประสิทธิภาพมากที่สุดจึงควรวางตำแหน่งของ wireless router ในบริเวณกึ่งกลางบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อใช้ประโยชน์จากลักษณะการส่งสัญญาณแบบนี้ให้มากที่สุด หากบ้านของคุณเป็นทาวเฮาส์หรือตึกแถวผมแนะนำให้วาง wireless router ไว้ที่ชั้นกลางของบ้าน จะช่วยให้การรับส่งสัญญาณไร้สายมีประสิทธิภาพสูงสุด


2. หลีกเลี่ยงการวาง Wireless Router ที่พื้น, ติดกำแพง, หรือใกล้โลหะ
นอกจากให้วาง Wireless Router ไว้บริเวณกึ่งกลางบ้านให้มากที่สุดแล้ว คุณยังควรหลีกเลี่ยงการวางไว้ที่พื้น การวางไว้ติดชิดฝาผนังบ้านโดยเฉพาะผนังคอนกรีต และการวางไว้ใกล้กับเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ที่เป็นโลหะ เช่นตู้เก็บเอกสารที่ทำด้วยเหล็กไว้ด้วย เพราะทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณไร้สายของตัว Wireless Router มีประสิทธิภาพต่ำลงทั้งสิ้น
3. เปลี่ยนเสาส่งสัญญาณเป็นเสาส่งสัญญาณความถี่สูง
หาก Wireless Router ที่คุณใช้เป็นแบบที่สามารถถอดเปลี่ยนเสาส่งสัญญาณได้ ผมขอแนะนำให้ลองเปลี่ยนเสาส่งสัญญาณความถี่สูงแบบต่อแยกต่างหากจากตัวเครื่องได้ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มรัศมีในการรับส่งสัญญาณไร้สายให้กว้างไกลมากขึ้นแล้ว ยังสะดวกสบายในการปรับแต่งเคลื่อนย้ายการวางเสาไปไว้ในตำแหน่งที่น่าจะส่งสัญญาณกระจายไปทั่วบ้านได้ดีที่สุดได้อีกด้วย

4. เปลี่ยนตัวรับสัญญาณไร้สายในคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นแบบ USB Network Adapter
ในบางกรณีการส่งสัญญาณของ Wireless Router ของคุณอาจมีประสิทธิภาพดีอยู่แล้ว แต่การรับสัญญาณที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอาจจะยังไม่ดีพอเองก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นหากเครื่องโน้ตบุ๊กองเครื่องใช้ตัวรับสัญญาณไร้สาย(Wireless Adapter)แบบ PC Card ที่เสียบติดกับตัวเครื่อง ผมขอแนะนำให้ทดลองเปลี่ยนมาใช้ตัวรับสัญญาณแบบ USB แบบที่มีสายต่อเชื่อมยาวออกจากตัวเครื่องได้ ซึ่งคุณเคลื่อนย้ายตำแหน่งการจัดวางเพื่อให้สามารถรับคลื่นสัญญาณจาก Wireless Router ได้ดียิ่งขึ้น
 5. เพิ่มรัศมีการรับส่งสัญญาณด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ Access Point เพิ่มเติม
สำหรับคุณมีปัญหาไม่สามารถเคลื่อนย้าย Wireless Router จากตำแหน่งเดิมได้ และประสบปัญหาคลื่นสัญญาณอ่อน ผมขอแนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point เพิ่มเติมอีกหนึ่งจุด ซึ่งเหมือนกับการเพิ่มระยะการรับส่งสัญญาณไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว และนอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มไปในจุดต่างๆได้มากจุดเท่าที่คุณต้องการได้อีกด้วย โดยให้ตั้งตำแหน่งที่เป็นจุดกึ่งกลางของบริเวณที่คุณต้องการขยายรัศมีการรับส่งสัญญาณออกไป

6. เปลี่ยนคลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณไร้สายของตัว Wireless Router
ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีในขณะนี้ คุณอาจจะยังไม่มีงบประมาณสำรองในการซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Wireless Network ในบ้านของคุณ คุณอาจจะลองใช้วิธีปรับแต่งช่วงความถี่คลื่นในการรับส่งสัญญาณของ Wireless Router ของคุณเองก็ได้ โดยปกติ Wireless Router จะมีส่วนของ Wireless Channel ให้ทดลองปรับเปลี่ยนได้อยู่แล้ว ให้คุณเข้าไปปรับค่าในส่วนนี้ให้ค้นหาคลื่นความถี่ที่ดีที่สุดของคุณ ส่วนวิธีการปรับเปลี่ยนให้ศึกษาได้จากคู่มือใช้งาน Wireless Router ของคุณเอง

7. พยายามลดคลื่นรบกวนการรับส่งสัญญาณไร้สายให้มากที่สุด
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณไร้สายลดลงก็คือ การมีคลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านที่มีการปล่อยคลื่นความถี่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นเตาไมโครเวฟ, โทรทัศน์, รวมไปถึงเครื่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียม โดยเฉพาะอุปกรณ์ไร้สายอย่างเช่นโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ระดับคลื่นความถี่ที่ 2.4GHz ซึ่งเป็นระดับเดียวกับ wireless router จะสร้างคลื่นรบกวนให้การรับส่งสัญญาณเป็นอย่างมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไร้สายอื่นๆที่ใช้คลื่นความถี่ระดับเดียวกันนี้ภายในบ้าน
8. อัพเดทเฟิร์มแวร์และไดรเวอร์ของอุปกรณ์ไร้สายของคุณให้ใหม่สุด
โดยทั่วไปบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไร้สายจะมีการอัพเดทเฟิร์มแวร์และไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ของตัวเองอยู่เป็นระยะๆอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับปรุงการทำงานของตัวเครื่องและรองรับการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ใหม่ๆได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในบางครั้งการอัพเดทยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ผมจึงขอแนะนำให้คุณเข้าไปดูเว็บของบริษัทผู้ผลิตเป็นระยะๆ หากพบว่ามีอัพเดทใหม่ให้คุณดาวน์โหลดมาติดตั้งทันที เพื่อให้คุณสามารถใช้งานระบบ wireless network ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
9. พยายามเลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สายต่างๆที่ใช้ร่วมกันจากผู้ผลิตรายเดียวกัน
คุณๆคงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าถ้าใช้อุปกรณ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันจะทำให้ประสิทธิภาพการงานทำโดยร่วมของระบบ Wireless Network ของคุณจะดีขึ้น ซึ่งก็เป็นจริงอย่างนั้นจริงๆด้วย เพราะถึงแม้แต่ละบริษัทผู้ผลิตจะผลิตอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐานเดียวกันและสามารถทำงานร่วมกันได้จริง แต่ในบางครั้งบริษัทผู้ผลิตได้มีการเพิ่มเติมเทคโนโลยี่พิเศษเฉพาะของตัวเองเข้าไป ซึ่งจะทำใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดหากใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่มาจากผู้ผลิตรายเดียวกัน การเลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สายต่างๆจากผู้ผลิตเดียวกันจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
10. เลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สายที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11g หรือดีกว่าขึ้นไป
หากคุณพอมีทุนทรัพย์ในการอัพเกรดระบบ Wireless Network เดิมที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11b ให้คุณเลือกซื้ออุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11g เป็นอย่างน้อย ซึ่งมีรัศมีและความเร็วในการรับส่งสัญญาณสูงกว่ามาตรฐานเดิมเป็นอย่างมาก แต่ถ้าให้ดีที่สุดควรเลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สายที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11n ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณได้มากกว่ามาตรฐาน 802.11g ถึง 5 เท่าตัว และที่สำคัญสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานเก่าได้อีกด้วย
                               
 

[TIP & TRICK] ปรับแต่งคอมพิวเตอร์อืด ให้เร็วจี๊ด!!!

ลดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
- คลิกขวาที่ My computer > Properties > Advanced
- ไปที่ Performance > setting  > custom
- แล้วก็คลิ๊กตามหมายเลข เลย





- หากต้องการให้ theme ที่ใช้ เป็น window classic ไม่จำเป็นต้องคลิ๊ก หมายเลข 10 หรือ ไม่ต้องคลิ๊ก ตั้งแต่ 6 - 10 ให้ข้ามมาที่ 11 เลย

ที่มา http://computereasy.exteen.com/20090325/tip-trick

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและวิวัฒนาการของ CPU INTEL

ประวัติและวิวัฒนาการของ CPU INTEL
หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด อยู่ที่ว่าเงินในกระเป๋าเราจะมีแค่ไหน ที่นี่เรามาย้อนดูวิวัฒนาการกัน


Intel 4004 (1971)
Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข



Intel 8086 / 8088 (1978-1979)

ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ 8 บิต
Intel 80286 (1982)

ในปี ค.ศ. 1982 อินเทลก็ได้ผลิตซีพียูรุ่น 80286 ที่มีความเร็วเพียงแค่ 6 เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิด ความร้อนสูงในขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งพัดลมและแผ่นระบายความร้อน ( Heat Sink )
Intel 80386SX/80386DX (1985-1990)

ผลิตออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1985 ด้วยความเร็ว 16 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขนาดของบัสข้อมูล 16 บิต แต่มีขีดความสามารถและความเร็วสูงกว่า 80826 มีทรานซิสเตอร์ภายใน 250 , 000 ตัว สถาปัตยกรรมภายในเป็นระบบประมวลผลแบบ 32 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัสเพื่อรับ ส่งข้อมูลจะเป็นแบบ 16 บิต โดย 80386 SX มีความเร็วตั้งแต่ 16 , 50 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์
Intel 80486SX/ 80486 DX (1989-1994)
ซีพียูรุ่น 80486 มีความเร็วตั้งแต่ 20 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานแบบ 32 บิต และมีแคช ภายใน ( Intel Cache ) ทำสามารถทำงานได้เร็วกว่ารุ่น 80386 ที่จำนวนของสัญญาณนาฬิกา เท่ากัน โดยในรุ่น 80486 SX ยังไม่มี Math Coprocess รวมอยู่ในซีพียู ต่อมาทางอินเทลก็ได้ออกเครื่องรุ่น 80486 DX มีความเร็วตั้งแต่ 50 , 66 , 100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นทั้งด้านความเร็วในการคำนวณและเทคโนโลยีโดยการรวม เอา Math Coprocessor และ แคชมารวมอยู่ในชิปเดียวกันกับซีพียู
INTEL PENTIUM

อินเทลเพนเทียม Intel Pentium (1993-1998)
ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก
PENTIUM II

Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Pro ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า “Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิปถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน 3 มิติ
เพนเทียมทูคลาเมธ Pentium II Klamath

คือชิปรุ่นต่อมาซึ่งถูกพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้น Pentium II Klamath เป็นชิปตัวแรก ในตลาด ที่เปลี่ยนจากอินเอตร์เฟซแบบซ็อกเกตมาเป็นสล็อตแทน ซีพียูเพนเทียมทูคลาเมธ มี ความเร็วเริ่มตั้งแต่ 233-300 MHz . ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มีสถาปัตยกรรม แบบ SECC (Single Eade Contact Cartridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นการ์ดที่ใช้กับ Slot 1 มีแคช ระดับสองติดตั้งอยู่บนการ์ดซีพียู ทำงานที่ความเร็วบัส 66 MHz ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 โวลด์
เพนเทียมทูเดสชู๊ตส์ ( Pentium II Deschutes )
ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพียูให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู
CELERON

ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeron สนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )
เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )

ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม
เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino )

ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutes คือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP
ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370
เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz
PENTIUM III
เพนเทียมทรี Pentium III
ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ 3 มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns
ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบ Slot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน
ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai

เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )
ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine

ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น 2 เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC
Pentium 4

เพนเทียมโฟร์ Pentium 4 เป็นรุ่นที่ค่อนข้างจะมีความเร็วผิดจากที่คาดไว้ และมี Cache น้อย อย่างไรก็ดี ชิปชุดนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการ ออกแบบที่ใหม่ทั้งหมด ระบบไปป์ไลน์ 20 ขั้น ต่อมาได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Intel Pentium Processor ที่จะมาแทนที่ Pentium III จะออกสู่ตลาดด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz 1.5 GHz ภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel NetBurst micro - architecture นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มชุดคำสั่งใหม่ SSE 2 เข้าไปอีก 144 ชุดคำสั่ง